เทคนิคจิตรกรรมสื่อประสม

เทคนิคจิตรกรรมสื่อประสม
          
         นิคอเละ ระเด่นอาหมัด (2543 : 60-61 อ้างถึงใน สมภพ จงจิตต์โพธา. 2562 : 122-123)  ได้นำเสนอเกี่ยวกับการสร้างสรรค์จิตรกรรมสื่อประสม ดังนี้
      
  1. จิตรกรรมทราย (Sand Painting) เป็นจิตรกรรมที่ใช้ในพิธีกรรมรักษาคนไข้ของชาวอินเดียนแดง โดยใช้สีที่บดจากหิน ดิน ทรายและถ่าน โรยลงบนพื้นทรายสีขาวและเหลือง ตามพื้นที่กำหนด รูป ประกอบด้วยสัญลักษณ์ทางเรขาคณิต คนไข้จะนั่งตรงกลางภาพ หลังจากเสร็จพิธีกรรมภาพเขียนจะถูกทำลายไป การเขียนภาพบนพื้นแบบจิตรกรรมทรายนี้ได้ให้อิทธิพลต่อ แจ็กสัน พอลล็อก (Jackson Pollock) สร้างงานจิตรกรรมแบบบันทึกการเคลื่อนไหว (Action Painting)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Lavender mist Jackson

"Lavender Mist"
Jackson Pollock 1905.


   2. จิตรกรรมปะติด (Collage) เป็นการสร้างสรรค์จิตรกรรมจากวัสดุเก็บตก (Found Objects) ซึ่งได้แก่ เศษวัสดุหลาย ๆ ชนิด เช่น หนังสือพิมพ์ เศษไม้ ขวด กระป๋อง ผสมผสานกับการใช้สี และเทคนิคดังกล่าวพบมากในงานของศิลปินกลุ่ม ดาดา (Dada) และศิลปินกลุ่มคิวบิสซึม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Carlo carra

(Italian Futurist, 1881-1966), Interventionist manifesto
or Patriotic Celebration : Free Word Painting)
Calo Carra 1914.


     3. จิตรกรรมพิมพ์ผิว (Frontage) เป็นวิธีที่ แมกซ์ เอินสต์ (Max Ernst)  ใช้สร้างจิตรกรรมแบบเหนือจริง (Surrealism) โดยใช้สีระบายบนพืนระนาบผ้าใบ หรือกระดาษ นำวัสดุผิวต่าง ๆ มากดลงบนระนาบทำให้เกิดผิวต่าง ๆ หรือใช้กระดาษวางบนผิววัสดุลายนูน ใช้ถ่านหรือดินสอถูบนกระดาษ หลังจากนั้นก็มาสร้างสรรค์เพิ่มเติมเป็นทิวทัศน์หรือภาพอื่น ๆ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

"Forest"
Max Ernst 1926.

   4. จิตรกรรมสีผสม (Mix Mediums) เป็นการสร้างสรรค์จิตรกรรมด้วยสีมากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) ศิลปินใช้สีผสมระหว่างสีฝุ่นกับสีน้ำมัน คือ ใช้สีฝุ่นเขียนจิตรกรรมสีพื้น แล้วใช้สีน้ำมันเคลือบทับผิวบน วิลเลียม เบลก (William Blake) ใช้สีน้ำแต้ม เติมภาพพิมพ์โลหะกัดกรด (Etching) เอดการ์ เดอการ์ (Edgar Degas) ใช้เทคนิคสีชอล์คกับสีน้ำ สีน้ำมันและภาพพิมพ์ ริชาร์ด แฮมิลตัน (Richard Hamitton) ใช้รูปถ่ายผสมกับสีน้ำมัน เป็นต้น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

"Just what is it that makes today's homes so different, so appealing?"
Richard Hamiltton 1956.




เอกสารอ้างอิง
สมภพ จงจิิตต์โพธา. จิตรกรรมสร้างสรรค์ (ฉบับสุดคุ้ม). --กรุงเทพฯ : วาดศิลป์, 2562.

ความคิดเห็น