ยุคสมัยประวัติศาสตร์ของทัศนศิลป์ไทย
ยุคสมัยประวัติศาสตร์ของทัศนศิลป์ไทย การศึกษาประวัติศาสตร์ทัศนศิลป์ของยุคสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย ทำให้นักเรียนเข้าใจประวัติความเป็นมา แนวคิด วิถีชีวิต รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ๆ ที่ส่งผลสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ๑. ยุคหิน อายุ ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ – ๔,๕๐๐ ปี ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มนำหินมากะเทาะเพื่อให้มีเหลี่ยมคมจนสามารถใช้เป็นเครื่องมือได้ ซึ่ง แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ๑.๑ สมัยหินเก่า อายุประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐ ปี ในพื้นที่ประเทศไทยปรากฎเครื่องมือหินที่เรียกว่า “เครื่องมือสับตัด” (Chopper – Chopping tools) นำไปใช้งานโดยการสับ ตัด ขุด ทุบ เป็นต้น ส่วนสะเก็ดของหินที่ถูกกะเทาะออกมา มีการนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือหินใช้ในการตัดฟันเฉือน เรียกว่า “เครื่องมือสะเก็ดหิน” (Flake tools) ๑.๒ สมัยหินกลาง อายุ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปี การผลิตเครื่องมือหินได้พัฒนาขึ้น มีการคัดเลือกประเภทของหินที่จะนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ และพัฒนาเทคนิคการกะเทาะให้ดียิ่งขึ้น สามารถกะเทาะหินให้มีรูปร่างเหมาะสมแก่การใช้งาน มีความละเอียด และขนาดที่เล็กลง เพื่อให้เป็นเครื่อ