การวิจารณ์งานทัศนศิลป์เพื่อปรับปรุงพัฒนางาน
หน่วยที่
2
เรื่อง
การวาดภาพแสดงบุคลิกลักษณะตัวละครด้วยเทคนิคที่หลากหลาย
การวาดภาพแสดงบุคลิกลักษณะตัวละคร
คือการสร้างสรรค์ตัวละครเพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
โดยที่ตัวละครจะแสดงบุคลิกลักษณะต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป ประกอบไปด้วย รูปร่างหน้าตา
สีหน้า ท่าทาง เพศ บทบาทหน้าที่ อายุ สถานะ อารมณ์ ความรู้สึก เป็นต้น
การวาดภาพถ่ายทอดบุคลิกลักษณะของตัวละครได้นั้น
ต้องทำความเข้าใจลักษณะของสีหน้า ท่าทาง อารมณ์ความรู้สึก
ที่ถ่ายทอดออกมาให้เห็นจากรูปลักษณ์ภายนอก ตลอดจนเครื่องแต่งกาย
หรือลักษณะรายละเอียดต่าง ๆ ของตัวละครที่ต้องการสื่อสาร
การวาดภาพด้วยเทคนิคที่หลากหลาย คือ การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ได้แก่ ดินสอ สีไม้ สีชอล์ค สีน้ำ สีอะคริลิค เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ผ่านเทคนิควิธีการ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานนั้น ๆ
การสร้างสรรค์งานด้วยเทคนิคที่หลากหลาย จำเป็นต้องรู้และเข้าใจวิธีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ รวมถึงกระบวนการในการทำงาน ทั้งนี้เพื่อให้งานออกมามีคุณภาพ และสื่อความหมายและเรื่องราวได้ตรงตามแผนที่วางไว้มากที่สุด
การวิจารณ์งานทัศนศิลป์เพื่อปรับปรุงพัฒนางาน
การพัฒนางานทัศนศิลป์ จากการประเมินและวิจารณ์ในกิจกรรมการเรียนการสอน
โดยครูเป็นผู้วิจารณ์ผลงานนักเรียนหรือนักเรียนวิจารณ์ผลของตนเองหรือของเพื่อน ซึ่งเป็นการวิจารณ์ในระหว่างปฏิบัติงาน
สามารถนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ต่าง ๆ มาเป็นแนวทางในการพัฒนางานในทัศนศิลป์ของตนเองต่อไป
๑. การสื่อความหมาย/หัวข้องาน คือ
งานทัศนศิลป์จะต้องแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน และสอดคล้องกับหัวข้อหรือเรื่องที่กำหนดไว้ให้ผู้อื่นรับรู้อย่างเข้าใจ
เกิดความรู้สึกประทับใจในสิ่งที่เราคิดและสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ
๒. ความคิดสร้างสรรค์
คือ ผลงานทัศนศิลป์จะต้องมีการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ มีการปรุงแต่งความงามจากสิ่งที่มองเห็นในลักษณะต่าง
ๆ มีการแก้ปัญหาในการนำไปใช้ประโยชน์แล้วนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ใหม่
และมีการนำแนวคิดเดิมมาวางแผนคิดค้นแก้ไขปัญหาให้เกิดแนวความคิดแปลกใหม่ ให้ผลงานมีความก้าวหน้าขึ้น
๓. เทคนิควิธีการ คือ ผลงานทัศนศิลป์จะต้องมีการนำวัสดุและวิธีการของสื่อต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ให้เกิดความแปลกใหม่ และน่าสนใจ ซึ่งเทคนิควิธีการมีอย่างหลากหลายวิธี เช่น การใช้ปากกา ดินสอ เครยอง สีไม้ สีเทียน สีน้ำมัน สีอะคริลิค หรือสีโปสเตอร์ เป็น ทั้งนี้ยังรวมถึงวิธีการสร้างสรรค์ ได้แก่ การปะติด การสร้างสรรค์สื่อผสม (Mixed media) และอื่น ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับทักษะความรู้ของผู้สร้างสรรค์ผลงาน
๔. การจัดองค์ประกอบศิลป์หรือการจัดภาพ คือ
ผลงานทัศนศิลป์จะต้องมีการนำทัศนธาตุต่าง ๆ ได้แก่ จุด เส้น สี รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อน-แก่ พื้นผิว และพื้นที่ว่างมาจัดภาพหรือจัดองค์ประกอบรวมเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดคุณค่าทางความงาม ซึ่งหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ได้แก่ เอกภาพ ดุลยภาพ จุดเด่น ความกลมกลืน
และความขัดแย้ง เป็นต้น
๕. ความประณีตและความเรียบร้อย คือ ผลงานทัศนศิลป์ที่สวยงามต้องมีความละเอียดในการใช้ทัศนธาตุ ซึ่งทำให้เล็งเห็นถึงความตั้งใจ และความมุ่งมั่นของผู้สร้างสรรค์ผลงาน และผลงานต้องมีความเรียบร้อยสมบูรณ์
ข้อมูลจาก : https://dltv.ac.th/utils/files/download/75276
------------> กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์พร้อมแบบวิจารณ์งานทัศนศิลป์ <------------
..................................................................................................................................................
👇
กดที่นี่เพื่อดูเกณฑ์การให้คะแนนและประเมินผลงานทัศนศิลป์
การใช้งานทัศนศิลป์ในการโฆษณา
งานโฆษณาเป็นงานพาณิชย์ศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อสนับสนุนการค้าและบริการเพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ดังนั้นการสร้างงานโฆษณาจำเป็นต้องนำเอาหลักการทางศิลปะ ได้แก่ หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ (จุดเด่น ความกลมกลืน เอกภาพ ความสมดุล) จิตวิทยาของสี (อารมณ์ความรู้สึก ความหมาย) และหลักภาษามาประกอบ โดยสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นให้มาใช้บริการ หรือสนับสนุนสินค้านั้น ๆ
งานโฆษณามีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
1. สิ่งที่จะโฆษณา
ก่อนที่จะออกแบบงานโฆษณาต้องกำหนดเป้าหมายของสิ่งที่จะโฆษณา ว่าจะโฆษณาอะไร ใช้ภาพ คำบรรยาย และข้อความให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจ เข้าใจสินค้าและบริการได้อย่างไร
2.สื่อที่จะใช้โฆษณา
สื่อคือตัวกลางที่จะนำสิ่งที่ต้องการโฆษณาไปถึงประชาชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ป้ายโฆษณา สื่อคอมพิวเตอร์ ป้ายโปสเตอร์ บัตรการ์ด เป็นต้น
3.ผู้รับสารงานโฆษณา
ผู้ออกแบบโฆษณาจะต้องเข้าใจความต้องการของประชาชนแต่ละกลุ่ม ว่าสิ่งที่จะโฆษณานั้นจะเน้นไปยังเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ คนทำงาน หรือกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น เพื่อให้งานโฆษณาตรงกับความสนใจ และความต้องการของเป้าหมายได้มากที่สุด ทั้งนี้ผู้ออกแบบต้องเข้าใจประเพณีวัฒนธรรม รสนิยม ความคิดอ่าน สภาพเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถออกแบบและใช้ภาษาได้สอดคล้องกับกลุ่มชนที่จะทำการโฆษณา โดยไม่ขัดกับประเพณีวัฒนธรรมของผู้คนในแต่ละพื้นที่
4.ประเภทของสื่อโฆษณา
ผู้ออกแบบโฆษณาจะต้องวางแผนการโฆษณาว่าต้องการให้งานอยู่ในสื่อประเภทไหน ซึ่งแบ่งประเภทสื่อไว้ดังนี้
4.1 สื่อกระจายเสียงและภาพ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โรงภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์
4.2 สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์รายวัน วารสาร
4.3 สื่อผลิตภัณฑ์จริง เช่น การแจกสินค้า ส่งคนขายส่งสินค้าไปตามบ้าน
4.4 สื่อนอกบ้าน เช่น ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ (Billboard) ป้ายข้างรถโดยสาร โปสเตอร์กระดาษ เป็นต้น
...................................................................................................................................................................
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น