แนวคิดในการออกแบบงานทัศนศิลป์ที่มาจากวัฒนธรรมไทยและสากล

 แนวคิดในการออกแบบงานทัศนศิลป์ที่มาจากวัฒนธรรมไทยและสากล


            งานศิลปะบ่งบอกถึงภูมิหลัง ภูมิปัญญา ความเชื่อ ความศรัทธาของมนุษย์ และประวัติศาสตร์ในแต่ละสมัย แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการ ประสบการณ์ ความรู้ที่ถูกสั่งสมมา เป็นศาสตร์วิชาให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ ผ่านแนวความคิดที่เกิดขึ้นในงานทัศนศิลป์ไทย และงานทัศนศิลป์สากล


งานทัศนศิลป์ไทยจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งจะรู้ได้ทันทีว่างานชิ้นนี้ต้องเป็นศิลปะไทย โดยดูจากอะไรบ้างนั้น มาศึกษากันเลยครับ...............


            แนวคิดในงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย เกิดจากแนวคิดแบบอุดมคติ (Idealistic) คือ การสร้างงานโดยการปรุงแต่งใส่ความคิดใส่จินตนาการเข้าไปเพื่อให้งานมีความสมบูรณ์แบบตามที่ศิลปินคาดหวัง ซึ่งอาจจะเกินไปจากความเป็นจริง เช่น นางเอกในวรรคดีจะต้องสวยสดงดงาม หน้าตาอ่อนช้อยอ่อนหวาน จมูกทรงหยดน้ำ ผิวขาวราวสีพระจันทร์ เป็นต้น โดยสร้างจากความเชื่อ ความศรัทธา และพัฒนาไปสู่ความเป็นจริง

แนวคิดในงานทัศนศิลป์ไทย ถูกแบ่งเป็น 3 รูปแบบ

1. แนวคิดแบบไทยประเพณี คือ การสร้างสรรค์งานที่ยึดตามแบบแผนดั้งเดิมของไทย ได้แก่ การเขียนภาพสองมิติ เน้นการใช้เส้นที่อ่อนช้อยงดงาม และไม่แสดงแสงเงาเหมือนจริง








2. แนวคิดแบบไทยประยุกต์ คือ การนำเอาหลักวิชาศิลปะตะวันตกมาประยุกต์ ได้แก่ การใช้แสงเงา การใช้สีแสดงความตื้นลึกแบบสามมิติ แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของไทยอยู่ ได้แก่ ลวดลาย ลายเส้น รูปทรงที่แสดงถึงความอ่อนช้อย







3. แนวคิดแบบไทยร่วมสมัย คือ การสร้างงานที่มีความเป็นอิสระ ขึ้นอยู่กับความคิดและจินตนาการของศิลปิน แต่ยังคงมีความเป็นไทยอยู่บ้าง








                แนวคิดในงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล เป็นงานทัศนศิลป์ที่เกิดขึ้นทางตะวันตก พัฒนามาจากงานทัศนศิลป์ยุคอียิปต์ กรีก โรมัน และมีวิวัฒนาการมาหลายยุคสมัย มีอิทธิพลต่อผลงานทัศนศิลป์ทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นต้นแบบของงานทัศนศิลป์สากลในปัจจุบัน

แนวคิดในงานทัศนศิลป์สากล ถูกแบ่งเป็น 3 รูปแบบ

1. แนวคิดแบบเหมือนจริง คือ การสร้างงานเลียนแบบธรรมชาติ โดยศิลปินวาดภาพตามความเป็นจริง ตามที่ตามองเห็น


 





2. แนวคิดแบบตัดทอน  คือ การสร้างงานโดยการบิดเบือนไปจากความเป็นจริง และยังคงเป็นงานที่สามารถรับรู้ได้ว่างานดังกล่าวเป็นรูปอะไร  เช่น การวาดรูปหน้าคนแต่วาดตาข้างหนึ่งเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ส่วนอีกข้างหนึ่งวาดตาที่ใหญ่เกินความจริง เป็นต้น ซึ่งแนวคิดนนี้จะให้ความสำคัญกับรูปแบบความคิดของศิลปินมากกว่า







3. แนวคิดแบบนามธรรม คือ การสร้างงานที่ไม่มีรูปแบบและเรื่องราวเหมือนจริงเลย โดยจะเน้นกระบวนการ หรือวิธีการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแนวคิด ประสบการณ์ของตัวศิลปินเอง เพื่อมุ่งแสดงอารมณ์ ความรู้สึกผ่านผลงานที่ปรากฏเป็นทัศนธาตุต่าง ๆ 
            งานรูปแบบนามธรรมจะไม่สามารถรับรู้ได้โดยตรงว่าศิลปินวาดรูปอะไร เพียงแต่ต้องใช้การตีความจากทัศนธาตุที่ปรากฏ หรือเทคนิคกระบวนที่เกิดขึ้น เพื่อสื่อความหมาย




หลังจากนักเรียนศึกษาเนื้อหาดูแล้ว นักเรียนพอจะเปรียบเทียบได้แล้วใช่มั้ย ว่างานไหนคืองานศิลปะไทย งานไหนคืองานศิลปะสากล ถ้านักเรียนสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้แล้ว แสดงว่านักเรียนเข้าใจเป็นอย่างดี หากยังไม่เข้าใจ ให้นักเรียนย้อนอ่านทำความเข้าใจอีกรอบครับ..............



ความคิดเห็น