รูปแบบของทัศนธาตุ

-รูปแบบของทัศนธาตุ-

ทัศนธาตุ คือ สิ่งที่ปรากฏและมองเห็นได้ในสิ่งแวดล้อม และในงานทัศนศิลป์

ทัศนธาตุที่ปรากฏอยู่ในงานทัศนศิลป์ ได้แก่ จุด เส้น สี รูปร่างรูปทรง น้ำหนักอ่อน-แก่ พื้นผิว และพื้นที่ว่าง สิ่งเหล่านี้คือส่วนประกอบหลักที่ทำให้เราสามารถมองเห็นเป็นภาพวาดสวย ๆ หรืองานปั้นอันวิจิตรที่ศิลปินสรรสร้างขึ้นมานั่นเอง 

  

รูปแบบของทัศนธาตุจะมีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ว่าจะเป็นวิธีการ กระบวนการ หรือแม้แต่ความหมายก็ตาม ดังนั้นการเลือกใช้ทัศนธาตุมาสร้างงานทัศนศิลป์ให้โดดเด่นและเกิดความสวยงามนั้น นักเรียนต้องรู้รูปแบบของทัศนธาตุในแต่ละส่วน

1. จุด เป็นส่วนประกอบขนาดเล็กที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ จุดจะมีความโดดเด่นหากนำมาสร้างสรรค์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังตัวอย่างผลงานที่ศิลปินใช้จุดในการสร้างทั้งหมด


 ผลงานของฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา


 ผลงานของศิลปินตามหน้าเว็บไซต์


2. เส้น เป็นส่วนประกอบหลักและเป็นพื้นฐานสำคัญของงานทัศนศิลป์ทุกแขนง เส้นในแต่ละลักษณะจะกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก และมีความหมายในตัวของมัน โดยเส้นจะแบ่งออกเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ เส้นตรง เส้นนอน เส้นโค้ง เส้นเฉียง เส้นคลื่น เส้นหยักหรือเส้นฟันปลา เส้นก้นหอย เส้นประ เป็นต้น 

เส้นในแต่ละลักษณะก็จะกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกดังนี้

    2.1 เส้นตรง ให้ความรู้สึกสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น ดังภาพประกอบ

  ภาพตึกBurj khalifa ตึกที่สูงที่สุดในโลก และภาพวาดการตายของโสเครตีส ผลงานของJacques-Louis David กับท่านั่งตัวตรงและนิ้วมือชี้ขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกหนักแน่น อันหมายถึงอุดมการณ์ที่โสเครตีสมีก่อนการเสียชีวิต

    2.2 เส้นนอน ให้ความรู้สึกนิ่ง เงียบ  ราบเรียบ กว้าง สงบ ดังภาพประกอบ

  
ภาพขอบฟ้าในทะเลยามเย็น และรูปภาพปฏิมากรรมพระนอน


   2.3 เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย นุ่มนวล เคลื่อนไหว สบาย ดังภาพประกอบ

 
ภาพเส้นโค้งมนของพระพุทธรูปและภาพคลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ (ภาพพิมพ์แกะไม้)

   2.4 เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกรวดเร็ว ไม่มั่นคง ไม่สมบูรณ์ ดังภาพประกอบ

 
ภาพหอเอนปิซ่าและเสาไฟฟ้าเอียง


2.5 เส้นคลื่น ให้ความรู้สึกเลื่อนไหล พลิ้วไหว ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน

ภาพเส้นโค้งคลื่นของถนนและงานประติมากรรมจากเส้นลวด

2.6 เส้นหยักหรือเส้นฟันปลา ให้ความรู้สึก ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง 

ความคิดเห็น